mm Is me ^^

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

ข่าวท้องถิ่น จังหวัดสกลนคร วันที่ 15 ก.ย. 54

15 กย. 2554 19:21 น. 

ตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร นำโดย พ.ต.ท.ปภาวิน ไชยคำภา รอง ผกก.ป.หน.ชปส.สส.ภ.จว.สกลนคร พร้อมกำลังตำรวจอีก 8 นาย เข้าตรวจค้นห้องพักในรีสอร์ทแห่งหนึ่งในเขต อ.เมือง จ.สกลนคร หลังรับแจ้งว่ามีกลุ่มวัยรุ่นหนีเรียนไปมั่วสุม พบกลุ่มเยาวชน 8 คน อายุ 15 - 17 ปี เป็นชาย 3 คน หญิง 5 คน ในชุดนักเรียน ล้อมวงดื่มกินเครื่องดื่มอย่างหนึ่ง โดยมีขวดยาแก้ไอ ขวดน้ำอัดลม และยาแก้ปวดวางอยู่ ส่วนใหญ่มีอาการมึนเมา จึงควบคุมตัวทั้งหมดพร้อมของกลางมาที่กองกำกับการสืบสวนภูธรจังหวัด สอบสวนทราบว่าทั้งหมดได้ดื่ม ยาเคลิ้ม ที่นำยาแก้ไอผสมยาแก้ปวด ซึ่งซื้อจากร้านขายยาในตลาดสดเป็นชุดๆละ 80 บาท เมื่อดื่มเข้าไปจะมีอาการเมาคล้ายยากล่อมประสาท รู้สึกโล่งปลดปล่อยไม่ต้องคิดอะไรมาก 
หลังได้รับทราบข้อมูล ตำรวจจึงขยายผลจับกุมร้านขายยาที่จำหน่ายยาควบคุมให้กับเยาวชน โดยวางแผนล่อซื้อด้วยการให้เยาวชนไปขอซื้อยาที่ร้านแห่งหนึ่งในตลาดสดเทศบาล เมื่อซื้อยาได้จำนวน 3 ชุด ตำรวจจึงแสดงตัวขอตรวจค้นในร้านขายยา พบนายอภิวิชญ์ ตันกิจเจริญ อายุ 33 ปี รับเป็นเจ้าของร้าน พบธนบัตรที่ใช้ล่อซื้ออยู่ในลิ้นชักเก็บเงินในร้าน จึงได้ตรวจยึดยาแก้ไอยี่ห้อหนึ่ง จำนวน 3 กล่อง และยาแก้ปวดชนิดรุนแรงยี่ห้อหนึ่งจำนวน 500 เม็ดไว้เป็นของกลาง และแจ้งข้อกล่าวหาขายยาอันตรายโดยไม่มีเภสัชกร ตาม พ.ร.บ.ยาฯ พ.ศ. 2510 มาตรา 21 และข้อหายุยงส่งเสริมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควร ส่งตัวพร้อมของกลางดำเนินคดี เบื้องต้นผู้ต้องหาให้การว่า ไม่ทราบว่าเป็นยาควบคุมและไม่ทราบว่าสามารถนำไปผสมเป็นยากล่อมประสาทได้ 
สำหรับคดีนี้ตำรวจได้จับกุมดำเนินคดีเฉพาะผู้ประกอบการขายยาเท่านั้น เนื่องจากกลุ่มวัยรุ่นทั้ง 8 คน เป็นเยาวชน จึงทำเพียงถ่ายรูป บันทึกประวัติไว้เพื่อจัดเก็บเป็นข้อมูล และได้อบรมตักเตือนในสิ่งที่กระทำว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี ก่อนแจ้งให้ผู้ปกครองมารับทราบข้อมูลพฤติกรรมและรับตัวกลับบ้าน

Sakon nakhon OkphansaDay Festival Thailand สกลนคร

ตามรอยพระพุทธเจ้า

     ปรัชญาทางศาสนาพุทธ คือรากฐานของวิทยาศาสตร์ ในยุคปัจจุบันทำไมเขาจึงกล่าวเช่นนั้น
กว่า 2500 ปีก่อน เจ้าชายสิทธัตถะทรงค้นพบอะไร ทำไมสิ่งที่พระองค์ทรงค้นพบจึงเปลี่ยนแปลงความเชื่ออย่างขนานใหญ่ให้กับคนในยุคนั้น ยุคที่เต็มไปด้วยความเชื่อเรื่องเทพเเจ้าและอิทธิฤิทธิ์ปาฎิหารย์ และ ทำไมศาสนาพุทธจึงสูญหายไปจากอินเดีย ดินแดนที่ถือว่าเป็นจุดกำเนิดแล้วปัจจุบันหล่ะ ศาสนาพุทธหายไปจากอินเดียจริงหรือหรือยังคงเหลือ อะไรบางอย่างไว้
ตามรอยพระพุทธเจ้า สารคดีความยาว 12 ชั่วโมง กับการเดินทางอันยาวนาน เพื่อค้นหาความจริงอันยิ่งใหญ่ ที่เคยฝังตัวอยู่ใต้แผ่นดินของอินเดียมานานกว่า 700 ปี เรื่องราวของศาสดาเอกองค์หนึ่งของโลก ผู้มีปรัชญายึดหลักทางสายกลาง
ตามรอยพระพุทธเจ้า จะพาผู้ชมย้อนเวลากลับไปในอดีต ครั้งสมัยก่อนพุทธกาล เพื่อเรียนรู้สภาพสังคม และความเชื่อในดินแดนชมพูทวีป ก่อนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางความเชื่อครั้งใหญ่ความรุ่งเรืองและมั่นคงอย่างถึงขีดสุดของศาสนาพุทธในสมัยพุทธกาล ความล่มสลายและสูญสิ้นไปจากแผ่นดินเกิดอย่างสิ้นเชิง ในสมัยหลังพุทธกาล
อะไร เป็นสาเหตุความเสื่อมสลายในครั้งนั้น ความแตกต่างทางความเชื่อของศาสนาพุทธ แต่ละนิกายเกิดขึ้นได้อย่างไร และทำไมชาวอินเดีย จึงยังคงรักษาความเชื่อในศาสนาฮินดูเอาไว้ได้อย่างเหนียวแน่น
ตามรอยพระพุทธเจ้า สารคดีที่จะเปิดเผยเรื่องราวอันยิ่งใหญ่ของพุทธศาสนาอย่างลึกถึงแก่น อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ เพื่อให้เป็นสารคดีเชิงประวัติศาสตร์ โบราณคดีและมานุษยวิทยาที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งศตวรรษ

อุทยานแห่งชาติภูพาน สกลนคร

อุทยานแห่งชาติภูพาน


 อุทยานแห่งชาติภูพาน เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในจังหวัดสกลนครและจังหวัดกาฬสินธุ์
อุทยานแห่งชาติภูพาน ปัจจุบันมีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอพรรณานิคม อำเภอเมือง อำเภอกุดบาก อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร อำเภอสมเด็จ อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วยป่าที่อุดมสมบูรณ์และมีธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตก ถ้ำ หน้าผาทิวทัศน์ตามธรรมชาติ ตลอดจนพื้นป่าแห่งนี้ในอดีตได้ชื่อว่าเป็นปัญหาทางด้านการเมือง และในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ยังเป็นแหล่งสะสมอาวุธยุทธภัณฑ์ที่ใช้สำหรับต่อต้านทหารกองทัพญี่ปุ่นซึ่ง นับเป็นประวัติศาสตร์ มีเนื้อที่ประมาณ 415,439 ไร่ หรือ 664.70 ตารางกิโลเมตร




อาหารพื้นเมืองอีสาน

ลักษณะการปรุงอาหารพื้นเมืองอีสาน
ลาบ เป็นอาหารประเภทยำที่มีเนื้อมาสับละเอียดหรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆบางๆปรุงรสด้วยน้ำปลาร้าพริก ข้าวคั่ว ต้นหอม ผักชี รับประทานกับผักพื้นเมืองนิยมใช้กับเนื้อปลาหมูวัวควายและไก่
ก้อย เป็นอาหารประเภทยำที่จะนำเนื้อย่างมาหั่นเป็นชิ้นๆผสมกับผักพื้นเมืองนิยมใช้กับเนื้อปลาหมูวัวควายและไก่ ทานกับผักสดนานาชนิด
ส่า เป็นอาหารประเภทยำ ที่นำหนังหมู เนื้อหมูย่างสับมาผสมกับหัวปลีวุ้นเส้น
แซ เป็นอาหารประเภทยำที่นำเนื้อสดๆมาปรุงนิยมใช้กับเนื้อวัวและหมู คล้ายๆลาบแต่มักใส่เลือดสดๆด้วย กินกับผักสดตามชอบ คนโบราณนิยมกินเพราะเชื่อว่าเป็นยาชูกำลัง ปัจจุบันได้รับความนิยมเฉพาะในชนบทที่ห่างไกล
อ่อม เป็นอาหารประเภทแกงแต่มีน้ำน้อยมีผัก พื้นเมืองหลายชนิดนิยมใช้กับเนื้อไก่และปลาหรือเนื้อกบเนื้อเขียดหรือเนื้อสัตว์อื่นๆแต่เน้นที่ปริมาณผัก
อ๋อลักษณะคล้ายอ่อมแต่ไม่ใส่ผัก(ใส่เพียงต้นหอม ใบมะกรูด ตะไคร้ ใบแมงลัก)นิยมใช้ปลาตัวเล็ก กุ้ง หรือไข่มดแดงปรุง ใส่น้ำพอให้อาหารสุก
หมกเป็นอาหารประเภทหนึ่งที่ใช้ใบตองห่อนิยม ใช้กับเนื้อปลา ไก่ แมลง กบ เขียด ผักและหน่อไม้ หมกหรือห่อหมกของภาคอีสานจะไม่ใส่กะทิ
อู๋ คล้ายหมกแต่ไม่ใช้ใบตอง นิยมใช้กับเนื้อปลาโดยเฉพาะปลาตัวเล็กๆ กับพวกลูกอ๊อดกบ
หม่ำคือไส้กรอกเนื้อวัวผสมตับ ตะไคร้และเครื่องเทศอื่นๆ
หม่ำขึ้ปลามีลักษณะคล้ายปลาร้าชนิดหนึ่งรสชาติค่อนข้างเปรี้ยวหมักกับข้าวเหนียว
แจ่ว คือ น้ำพริกของชาวอีสานนิยมใส่ปลาร้าสับหรือน้ำปลาร้า บางครั้งใส่มะกอกพื้นบ้านก็เป็นแจ่วมะกอก รับประทานกับผักสด ลวก หรือนึ่งเป็นอาหารที่นิยมรับประทานกันทุกบ้านในภาคอีสาน เพราะมีขั้นตอนการทำที่ไม่ยุ่งยาก
ตำซั่ว เป็นอาหารประเภทส้มตำชนิดหนึ่ง แต่ใส่ส่วนประกอบมากกว่า คือ ใส่ขนมจีน ผักดอง ผัก(เหมือนที่ใส่ขนมจีน)และมะเขือลาย หรือผักอื่นๆตามต้องการลงไปในตำมะละกอด้วย

ที่มาและความสำคัญวัฒนธรรมไทย


ที่มาของวัฒนธรรมไทย
  • สิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ เนื่องจากสังคมไทยมีลักษณะทางด้านภูมิศาสตร์เป็นที่ราบลุ่มและอุดมสมบูรณ์ด้วยแม่น้ำลำคลอง คนไทยได้ใช้น้ำในแม่น้ำ ลำคลอง ในการเกษตรกรรมและการอาบ กิน เพราะฉะนั้นเมื่อถึงเวลาหน้าน้ำ คือ เพ็ญเดือน 11 และเพ็ญ เดือน 12 ซึ่งอยู่ในห้วงเวลาปลายเดือนตุลาคมและปลายเดือนพฤศจิกายน อันเป็นระยะเวลา ที่ น้ำไหลหลากมาจากทางภาคเหนือของประเทศ คนไทยจึงจัดทำกระทงพร้อม ด้วยธูปเทียนไปลอย ในแม่น้ำลำคลอง เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษแม่คงคา และขอพรจากแม่คงคา เพราะได้อาศัยน้ำกิน น้ำใช้ ทำให้เกิด "ประเพณีลอยกระทง"   นอกจากนั้นยังมีประเพณีอื่น ๆ  อีกในส่วนที่เกี่ยวกับ แม่น้ำลำคลอง  เช่น     ประเพณีแข่งเรือ


  • ระบบการเกษตรกรรม สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม (agrarian society) กล่าวคือ ประชากรร้อยละ 80 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า คนไทยส่วนใหญ่มีวิถีชีวิตผูกพันกับระบบการเกษตรกรรม และระบบการเกษตรกรรมนี้เอง ได้เป็น ที่มาของวัฒนธรรมไทยหลายประการ เช่น ประเพณีขอฝน ประเพณีลงแขก และการละเล่น เต้นกำรำเคียว เป็นต้น

  • ค่านิยม (Values) กล่าวได้ว่า "ค่านิยม" มีความเกี่ยวพันกับ วัฒนธรรมอย่างใกล้ชิด และ "ค่านิยม" บางอย่างได้กลายมาเป็น "แกน" ของวัฒนธรรมไทยกล่าวคือ วิถีชีวิตของคนไทยโดยส่วนรวมมีเอกลักษณ์ซึ่งแสดงออกถึงอิสรภาพและเสรีภาพ

  • การเผยแพร่ทางวัฒนธรรม (Cultural diffusion) วัฒนธรรมทาง หนึ่ง ย่อม แตกต่างไปจากวัฒนธรรมทางสังคมอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะวัฒนธรรมมิได้เกิดขึ้นมาใน ภาชนะ ที่ถูกผนึกตราบเท่าที่มนุษย์ เช่น นักท่องเที่ยว พ่อค้า ทหาร หมอสอนศาสนา และผู้อพยพยังคง ย้ายถิ่นที่อยู่จากแห่งหนึ่งไปยังแห่งอื่น ๆ เขาเหล่านั้นมักนำวัฒนธรรมของพวกเขาติดตัว ไปด้วย เสมอ ซึ่งถือได้ว่า เป็นการเผยแพร่ทางวัฒนธรรม เป็นไปได้อย่างสะดวกรวดเร็วและกว้างขวาง ประจักษ์ พยานในเรื่องนี้จะเห็นได้ว่าน้ำอัดลมชื่อต่าง ๆ มีอยู่ทั่วทุกมุมโลก

  • ความสำคัญของวัฒนธรรม
            วัฒนธรรมเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งในความเป็นชาติ ชาติใดที่ไร้เสียซึ่งวัฒนธรรมอันเป็นของตนเองแล้ว ชาตินั้นจะคงความเป็นชาติอยู่ไม่ได้ ชาติที่ไร้วัฒนธรรม แม้จะเป็นผู้พิชิตในการสงคราม แต่ในที่สุดก็จะเป็นผู้ถูกพิชิตในด้านวัฒนธรรม ซึ่งนับว่าเป็นการถูกพิชิตอย่างราบคาบและสิ้นเชิง ทั้งนี้เพราะผู้ที่ถูกพิชิตในทางวัฒนธรรมนั้นจะไม่รู้ตัวเลยว่าตนได้ถูกพิชิต เช่น พวกตาดที่พิชิตจีนได้ และตั้งราชวงศ์หงวนขึ้นปกครองจีน แต่ในที่สุดถูกชาวจีนซึ่งมีวัฒนธรรมสูงกว่ากลืนจนเป็นชาวจีนไปหมดสิ้

    วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

    ความรู้อุตุนิยมวิทยา

    ความรู้อุตุนิยมวิทยา


    การพยากรณ์อากาศ
    หมายถึง การคาดหมายสภาพลมฟ้าอากาศในอนาคต การที่จะพยากรณ์อากาศได้ต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ ประการแรกคือความรู้ความเข้าใจในปรากฏการณ์และกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในบรรยากาศ ประการที่ สองคือสภาวะอากาศปัจจุบัน และประการสุดท้ายคือความสามารถที่จะผสมผสานองค์ประกอบทั้งสองข้างต้น เข้าด้วยกันเพื่อคาดหมายการ เปลี่ยนแปลงของบรรยากาศที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
    ความรู้ความเข้าใจในปรากฏการณ์และกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในบรรยากาศ ได้มาจากเฝ้าสังเกตและบันทึกไว้ มนุษย์ได้มีการสังเกตลมฟ้าอากาศมานานแล้ว เพราะมนุษย์อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมฟ้าอากาศโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ จึงมีความจำเป็นที่ต้องทราบลักษณะลมฟ้าอากาศที่เป็นประโยชน์และลักษณะอากาศที่เป็นภัย การสังเกตทำให้สามารถอธิบายถึงสาเหตุของการเกิดลักษณะอากาศแบบต่าง ๆ ได้ อย่างไรก็ตามความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลมฟ้าอากาศนั้นยังมีอยู่น้อยมาก เมื่อเทียบกับปรากฎการณ์ของบรรยากาศที่มนุษย์ยังไม่มีความเข้าใจอย่างเพียงพอ ทั้งนี้เพราะอุตุนิยมวิทยาซึ่งเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับบรรยากาศและปรากฎการณ์ที่เกี่ยวข้องนั้น มีการพัฒนาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาได้ไม่นานนัก โดยก่อนหน้านี้มนุษย์เชื่อว่าลมฟ้าอากาศอยู่มากมาย สภาวะอากาศปัจจุบันที่ต้องใช้เป็นข้อมูลเริ่มต้นสำหรับการพยากรณ์อากาศนั้น ได้มาจากการตรวจอากาศ ซึ่งมีทั้งการตรวจอากาศผิวพื้น การตรวจอากาศชั้นบนในระดับความสูงต่าง ๆ สิ่งสำคัญที่ต้องทำการตรวจเพื่อพยากรณ์อากาศได้แก่ อุณหภูมิ ความกดอากาศ ความชื้น ลม เมฆ และฝน การที่จะพยากรณ์อากาศในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ต้องใช้ข้อมูลผลการตรวจอากาศในบริเวณนั้นร่วมกับผลการตรวจอากาศจากบริเวณที่อยู่โดยรอบด้วย เพราะปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในบรรยากาศมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา สิ่งที่เกิดขึ้นนอกจากพื้นที่การพยากรณ์อาจเคลื่อนตัวมามีผลต่อสภาพอากาศในบริเวณที่จะพยากรณ์ได้ ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลผลการตรวจอากาศระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้ข้อมูลเพียงพอสำหรับการพยากรณ์อากาศ นอกเหนือจากกการตรวจอากาศผิวพื้นทั้งบนพื้นดิน พื้นน้ำ และการตรวจอากาศชั้นบนแล้ว ปัจจุบันการตรวจอากาศที่ช่วยให้การพยากรณ์แม่นยำยิ่งขึ้นคือ การตรวจอากาศด้วยเรดาร์และดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา เมื่อมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวของลมฟ้าอากาศ และมีข้อมูลผลการตรวจอากาศแล้ว สิ่งที่ต้องทำเพื่อให้สามารถพยากรณ์อากาศได้ คือการวิเคราะห์ข้อมูลผลการตรวจอากาศเพื่อให้ทราบลักษณะอากาศปัจจุบัน และการคาดหมายการเปลี่ยนแปลงของลักษณะอากาศที่กำลังเกิดขั้นนั้นว่า
    จะมีทิศทางและความเร็วในการเคลื่อนที่อย่างไร และความรุนแรงจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงเพียงใด นั่นคือคาดหมายว่าบริเวณที่จะพยากรณ์นั้นจะอยู่ภายใต้อิทธิพลของปรากฏการณ์แบบใด แล้วจึงจัดทำคำพยากรณ์อากาศโดยพิจารณาจากลักษณะลมฟ้าอากาศที่สัมพันธ์กับปรากฏการณ์นั้น ๆ ต่อไป

    สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดสกลนคร

    สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดสกลนค
    อุทยานแห่งชาติภูพาน
    พระธาตุเชิงชุม
    หนองหาน
    สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์
    สะพานขอม
    สถานแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืด
    พระธาตุดุม
    ปราสาทพระธาตุนารายณ์เจงเวง
    ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัด
    พิพิธภัณฑ์อาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์
    ชาวภูไท บ้านโนนหอม
    พระธาตุเพ็ก
    วัดถ้ำขาม
    พิพิธภัณฑ์อาจารย์ฝั้น อาจาโร
    วัดคำประมง
    เขื่อนน้ำอูน
    ปราสาทบ้านพันนา
    พระธาตุศรีมงคล
    ถ้ำพระพุทธไสยาสน์
    วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม และพิพิธภัณฑ์อาจารย์ วัน อุตตโม
    เขื่อนน้ำพุง
    สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ปู่มเหศักดิ์
    พิพิธภัณฑ์ไทยไส้
    อุทยานแห่งชาติห้วยหวด


    ศูนย์ศิลปาชีพในจังหยัดสกลนคร

    ศูนย์ศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม
    อยู่ในท้องที่บ้านกุดนาขาม ตำบลเจริญศิลป์ อำเภอเจริญศิลป์ เดินทางไปตามเส้นทางสายสกลนคร - อุดรธานี ทางหลวงหมายเลข 22 ระยะทาง 84 กิโลเมตรถึงอำเภอสว่างแดนดินแยกขวาเข้าเส้นทางหมายเลข 2091 และไปอีกประมาณ 23 กิโลเมตร
    การเดินทางสะดวกมาก เป็นแหล่งผลิตศิลปหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา การแกะสลักไม้ และการทอผ้าไหม และมีห้องแสดงการปั้นเขียนสีและแสดงผลิตภัณฑ์ ฝีมือในการผลิต และออกแบบสวยงามมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และเป็นที่ชื่นชอบของผู้ที่นิยมใช้ของไทย ผลิตภัณฑ์จากศูนย์มักนำออกแสดงให้ชมและจำหน่ายในงานนิทรรศการที่เกี่ยวกับสินค้าของที่ระลึกประจำจังหวัด รวมทั้งงานออกร้านในเทศกาลต่างๆ ในต่างจังหวัดและบางงานจัด ในกรุงเทพฯ เวลาเปิด 08.00 - 16.30 น. เปิดทุกวันอังคาร - วันเสาร์
    ศูนย์ศิลปาชีพบ้านจาร
    ตั้งอยู่ที่บ้านจาร ตำบลม่วง อำเภอบ้านม่วง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 126 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายสกลนคร - พังโคน เมื่อถึงอำเภอพังโคนแล้วแยกขวาเข้าเส้นทางหมายเลข 222 ถึงบ้านคำตากล้าจากนั้นแยกซ้ายเข้าเส้นทางหมายเลข 2324 ศูนย์ฯ แห่งนี้เป็นที่ผลิตและฝึกอาชีพในด้านการทอผ้าไหมและผ้าพื้นเมืองอื่นๆ ตลอดจนการตีเหล็ก การแกะสลักไม้ ผ้าที่ทอจากศูนย์ฯนี้มีคุณภาพดีจึงเป็นที่นิยมของคนทั่วไป ทางศูนย์ฯ เปิดให้ผู้สนใจเข้าชมได้ทุกวัน
    บ้านปั้นหม้อ
    อยู่ที่บ้านเชียงเครือ ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมือง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 15 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายสกลนคร - นครพนม ทางหลวงหมายเลข 22 ชาวบ้านมีอาชีพนอกเหนือจากการทำนา คือ การปั้นภาชนะเครื่องใช้ต่างๆ เช่น โอ่ง หม้อ ไห กระถาง เป็นต้น
    นักท่องเที่ยวสามารถซื้อได้ในราคาย่อมเยาในบริเวณหมู่บ้านและตลอดสองข้างทางที่เดินทางสู่หมู่บ้าน
    หมู่บ้านทอผ้าบ้านวาใหญ่
    บ้านดอนแดง ในเขตอำเภออากาศอำนวย ทางหลวงหมายเลข 2094 อยู่ห่างจากจังหวัดประมาณ 75 กิโลเมตร ผ้าที่ทอนั้นมีทั้งผ้าฝ้าย ผ้าไหม และผ้าขิด เป็นผ้าที่ย้อมด้วยสีธรรมชาติที่ได้จากเปลือกไม้และผลิตผลจากไม้ พร้อมทั้งมีฝีมือการทอที่ประณีตลวดลายสวยงาม
    ร้านจำหน่ายสิ

    แหล่งท่องเที่ยว ใน จังหวัดสกลนคร

    พระธาตุเชิงชุม
    ประดิษฐานที่ววัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหารในเขตเทศบาลเมืองสกลนครเป็น
    เจดีย์ก่ออิฐถือปูนฐานรูปสี่เหลี่ยม สูงประมาณ 24 เมตร สวนบนเป็นทรงบัวสีเหลี่ยมยอดฉัตรทองคำภายในมีรอยพระพุทธบาทโดยมีตำนานเล่ากันมาว่า ตามประเพณีแล้วพระพุทธเจ้าทุกพระองค์จะต้องมาประชุมรอยพระพุทธบาท ณ ดินแดนแห่งนี้ นับตังแต่พระเจ้ากกุสันธะ โกนาคมนะ กัสสปะ และโคตมะ รวมกันเป็น 4 พระองค์ และนัยว่าพระพุทธเจ้าองค์ที่ 5 คือ "พระศรีอารยเมตไตรยพุทธเจ้า" ก็จะต้องมาประทับรอยพระบาท ณ ที่แห่งนี้ในอนาคตเช่นกัน นอกจากนี้ บริเวณใกล้เคียงกับองค์พระธาตุเชิงชุมยังเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อองค์แสนอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพนับถือและเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนในจังหวดสกลนคร งานนมัสการพระธาตุเชิงชุมจะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 9 ค่ำ ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่ของทุกปี (ราวเดือนมกราคม)
               พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
               ตั้งอยู่ที่วัดป่าอุดมพร อำเภอพรรณานิคมห่างจากตัวจังหวัด ประมาณ 39 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 22 ( สกลนคร - อุดรธานี) พระอา                        จารย์ฝั้น อาจาโร เป็นพระเกจิสายวิปัสนากรรมฐาน ลูกศิษย์พระอาจารย์มั่น สำหรับตัวพิพิธภัณฑ์ทำเป็นรูปเจดีย์ฐานกลม แต่ละด้านก่อปูนเป็นรูปกลีบบัวซ้อน  กันสามชั้น ภายในอาคารมีรูปปั้นพระอาจารย์ฝั้น ขนาดเท่าจริงตู้กระบรรจุอัฐิบริขารที่ท่านเคยใช้ รวมทั้งประวัติของท่านตั้งแต่เกิดจนมรณภาพ

    วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

    รูปเกี่ยวกับ จังหัดสกลนคร




    ตราประจำจังหวัด




                                                  


    ธงประจำจังหวัดสกลนคร








       ต้นไม้ประจำจังหวัดอินทนิลน้ำ

    ประเพณี แห่งประสาทผึ้ง

    ประวัติจังหวัดสกลนคร


    ประวัติจังหวัดสกลนคร
       สกลนคร นครแห่งการแสวงหา ได้ชื่อว่าเป็นเมืองพุทธศาสน์ พระธาตุ 5 แห่ง แหล่งอารยธรรม 3,000 ปี ตามตำนานเล่าว่า เมื่อสมัย พุทธศตวรรษที่ 16 เมืองหนองหารหลวง ในอดีต หรือสกลนครในปัจจุบันนั้น สร้างขึ้น ในยุคที่ขอมมีอำนาจในดินแดนนี้ โดยขุนขอม ราชบุตรเจ้าเมืองอินทรปัฐนครผู้ซึ่งอพยพครอบครัว และบ่าวไพร่ชาว เขมรมาสร้างเมืองใหม่ที่ ริมหนองหารหลวง มีเจ้าปกครองเรื่อยมา จนถึงสมัยพระยาสุวรรณภิงคาระ เวลานั้นเกิดฝนแล้ง ข้าวยากหมากแพง เจ้าผู้ครองนครจึงต้องพาราษฎรอพยพกลับเขมร หนองหารจึงกลายเป็น เมืองร้างอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาเมื่ออิทธิพลขอมเสื่อมลง เมืองหนองหารหลวงตกไปอยู่ ในความปกครองของอาณาจักรล้านช้าง เรียกชื่อว่า "เมืองเชียงใหม่หนองหารซึ่งแสดงว่า เมืองหนองหาร มีความสัมพันธ์กับเวียงจันทน์เสมอมา
     ก่อนอิทธิรัตนโกสินทร์ จะเข้าไปถึง สกลนครเมื่อประมาณ พ..2321-2322
    ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 3 ปรากฎเจ้าเมืองชื่อพระบรมราชา (มั่งเจ้าเมืองสกลนครในขณะนั้นไป เข้าข้างเจ้าอนุวงศ์ ซึ่งเป็นกบฏ ยกเข้ามากวาดต้อน ผู้คนทางภาคอีสาน พระบรมราชา (มั่งเข้าข้างเจ้าอนุวงศ์ อพยพครอบครัวไปอยู่ มหาชัยก่องแก้ว เหลือแต่กรรมการเมือง ผู้น้อยทิ้งไว้เฝ้าเมือง ต่อมาเมื่อพ..2373 โปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุนทราช วงศา (ปุตเจ้าเมืองยโสธร ซึ่งทำความดีความชอบเมื่อครั้งปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์มารักษา เมืองสกลทวาปีตำนานเมืองหนองหาร ครั้งหนึ่งยังมีเมืองอยู่เมืองหนึ่งชื่อ นครเอกชะทีตา มีพระยาขอมเป็นกษัตริย์ ปกครองเมืองด้วยความร่มเย็น พระยาขอมมีพระธิดาสาวสวยนามว่า "นางไอ่คำซึ่งเป็นที่รักและหวงแหนมาก จึงสร้างปราสาท 7 ชั้น ให้อยู่พร้อมเหล่าสนม นางกำนัล คอยดูแลอย่างดีขณะเดียวกันยังมีเมืองอีกเมืองหนึ่งชื่อ เมืองผาโพง มีเจ้าชายนามว่า ท้าวผาแดง เป็นกษัตริย์ ปกครองอยู่ ได้ยิน กิตติศัพท์ความงามของธิดา ไอ่คำมาก่อนแล้ว ใคร่อยากจะเห็นหน้า จึงปลอมตัวเป็นพ่อค้าพเนจรถึงนครเอกชะทีตา และติดสินบนนางสนมกำนัล ให้นำของขวัญลอบ เข้าไป ให้นางไอ่คำ ด้วยผลกรรมที่ผูกพันมาแต่ชาติปางก่อน นางไอ่คำและท้าวผาแดงจึงได้มีใจ ปฏิพัทธ์ต่อกัน จนในที่สุดทั้งสองก็อภิรมย์สมรักกันก่อนท้าวผาแดงจะจากไป เพื่อจัดขบวนขันหมากมาสู่ขอนางไอ่คำ ทั้งสองได้คร่ำครวญต่อกัน ด้วยความอาลัยยิ่ง วันเวลาผ่านไปถึงเดือน เป็นประเพณีแต่โบราณของเมืองเอกชะทีตา จะต้องมีการทำบุญบั้งไฟบูชาพญาแถน พระยาขอมจึงได้ประกาศบอกไปตามหัวเมืองต่างๆ ว่าบุญบั้งไฟปีนี้จะเป็นการหาผู้ที่จะมาเป็นลูกเขยอีกด้วย ขอให้เจ้าชายหัวเมืองต่างๆ จัดทำบั้งไฟ มาจุดแข่งขันกัน ผู้ใดชนะก็จะได้อภิเษก กับพระธิดาไอ่คำด้วยข่าวนี้ได้ร่ำลือไปทั่วสารทิศ ทุกเมืองในขอบเขตแว่นแคว้นต่างๆ ก็ส่งบั้งไฟเข้ามาแข่งขัน เช่น เมืองฟ้าแดดสูงยาง เมืองเชียงเหียน เชียงทอง แม้กระทั่งพญานาคใต้เมืองบาดาล ก็ได้ยินร่ำลือจนสิ้น จนท้าวพังคีเจ้าชายพญานาคเมือง บาดาลก็อดใจไม่ไหว ปลอมตัวเป็น กระรอกเผือก มาดูโฉมงามนางไอ่คำ ด้วยในวันงานบุญบั้งไฟ เมื่อถึงวัน แข่งขัน จุดบั้งไฟ ปรากฏว่า บั้งไฟท้าวผาแดงจุดไม่ขึ้นพ่นควันดำอยู่ 3 วัน3 คืน จึงระเบิดออกเป็นเสี่ยงๆ ทำให้ความหวังท้าวผาแดงหมดสิ้นลงขณะเดียวกัน ท้าวพังคีพญานาคที่ปลอมเป็นกระรอกเผือก มีกระดิ่งผูกคอน่ารักมาไต่เต้น อยู่บนยอดไม้ข้าง ปราสาท นางไอ่คำ ก็ปรากฏร่าง ให้นางไอ่คำเห็น นางจึงคิดอยากได้มาเลี้ยง แต่แล้วก็จับไม่ได้ จึงบอกให้นายพรานยิงเอาตัวตายมา ในที่สุดกระรอกเผือกพังคี ก็ถูกยิง ด้วยลูกดอก จนตาย ก่อนตายท้าวพังคีได้อธิษฐานไว้ว่า "ขอให้เนื้อของข้าได้ แปดพันเกวียน คนทั้งเมืองอย่าได้กินหมดเกลี้ยง"
    จากนั้นร่างของกระรอกเผือกก็ใหญ่ขึ้น จนผู้คนแตกตื่นมาดูกันและจัดการแล่เนื้อนั้นแบ่งกัน ไปกินทั่วเมือง ด้วยว่าเป็นอาหารทิพย์ ยกเว้นแต่พวก แม่ม่ายที่ชาวเมืองรังเกียจ ไม่แบ่งเนื้อ กระรอกให้ พญานาคแห่งเมืองบาดาล ทราบข่าว ท้าวพังคีถูกมนุษย์ฆ่าตายแล่เนื้อไปกิน กัน ทั้งเมือง จึงโกรธแค้นยิ่งนัก ดึกสงัดของคืนนั้นเอง ขณะที่ชาวเมือง เอกชะทีตากำลังหลับไหล เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น ท้องฟ้าอื้ออึงไปด้วย พายุฝน ฟ้ากระหน่ำลงมาอย่างหนักอยู่ มิได้ขาด แผ่นดินเริ่มถล่มตัวยุบตัวลงไปทีละน้อย ท่ามกลางเสียงหวีดร้องของผู้คนที่วิ่งหนีตาย เหล่าพญานาคผุด ขึ้นมา นับหมื่นนับแสนตัว ถล่มเมืองชะทีตาจมลบงใต้บาดาลทันที คงเหลือไว้เป็นดอน 3-4 แห่ง ซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกแม่ม่าย ที่ไม่ได้กินเนื้อ กระรอกเผือกจึงรอดตายฝ่ายท้าวผาแดงได้โอกาสรีบควบม้าหนีออกจากเมือง โดยไม่ลืมแวะรับพระธิดาไอ่คำไปด้วย แต่แม้จะเร่งฝีเท้าม้าเท่าใดก็หนีไม่พ้นทัพพญานาคที่ ทำให้แผ่นดินถล่มตามมาติดๆ ในที่สุดก็กลืนท้าวผาแดงและพระธิดาไอ่คำ พร้อมม้าแสนรู้ชื่อ "บักสามจมหายไปใต้พื้นดินรุ่งเช้าภาพของเมืองเอกชะทีตาที่เคยรุ่งเรืองโอฬาร ก็อันตธานหายไปสิ้น คงเห็นแต่พื้นน้ำ กว้างยาว สุดตา ทุกชีวิตในเมืองเอกชะทีตาจมสู่ใต้บาดาล จนหมดสิ้นเหลือไว้แต่แม่ม่ายบนเกาะร้าง 3-4 แห่ง ในผืนน้ำอันกว้างนี้ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นหนองหารหลวงดังปรากฏในปัจจุบัน
    ประวัตเมืองหนองหารหลวง ประวัติเมืองหนองหารหลวงไม่มีหลักฐาน ปรากฏไว้เป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากผู้เฒ่าผู้แก่ ของเมืองได้จดจำถ้อยคำของพระบรรเทา กรมการเมืองขุขันธ์คนเก่ากับเพี้ยศรีคอนชุม ซึ่งเป็นหัวหน้าข้าพระธาตุเชิงชุมว่า หลังจาก พระยาสุวรรณภิงคาระ สิ้นพระชนม์ลง เหล่าเสนา ข้าราชการผู้ใหญ่ชาวเขมร ก็ได้ผลัดเปลี่ยน กันเข้ามาปกครอง เป็นเจ้าเมือง หนองหารหลวง ต่อกันมาเรื่อยๆหลายยุคหลายสมัยต่อมาได้เกิดทุกขภัยฝนแล้งมา 7 ปี ราษฎรไม่ได้ทำนา เกิดความอดอยากข้าปลาอาหารไม่มีจะกิน เจ้าเมืองอพยพ ราษฎรอยู่ที่เมืองหนองหาร หลวงไปอยู่ที่เมืองเขมรกันหมด ทิ้งให้เมืองหนองหารหลวงกลายเป็นเมืองร้างต่อมาในรัชกาลที่ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ พร้อมด้วยครอบครัวมาตั้งรักษา พระธาตุเชิงชุม จนมีผู้คนมากขึ้นแล้วจึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านธาตุเชิงชุมเป็นเมืองสกลทวาปี โดยตั้งให้ อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์เป็นพระธานี เจ้าเมืองสกลทวาปีคนแรก
    ต่อมาปี พ.. 2369 สมัยรัชกาลที่ 3 ได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ เจ้าเมืองสกลทวาปีไม่ได้เตรียมกำลังป้องกันเมือง เจ้าพระยาบดินทร์ เดชานุชิต(สิงห์ สิงหเสนีเป็นแม่ทัพมาตรวจราชการเห็นว่าเจ้าเมืองกรมการไม่เอาใจใส่ต่อบ้านเมืองปล่อยให้ข้าศึก (ทัพเจ้าอนุวงศ์ล่วงล้ำได้ โดยง่าย จึงสั่งให้นำตัวพระธานีไปประหารชีวิตที่หนองทรายขาว พร้อมกับกวาดต้อนผู้คนในเมืองสกลทวาปีไปอยู่ที่ กบินทร์บุรีบ้าง ประจันตคามบ้าง ให้คงเหลือรักษาพระธาตุเชิงชุม แต่พวกศรีคอนชุม ต.ธาตุเชิงชุม บ้านหนองเหียน บ้านจานเพ็ญ บ้านอ่อมแก้ว บ้านธาตุเจงเวง บ้านพราน บ้านนาคี บ้านวังยางและบ้านพรรณา รวม 10ตำบล เพื่อให้เป็นข้าปฏิบัติพระธาตุเชิงชุมเท่านั้นในสมัยต่อๆมาได้มีราชวงศ์คำแห่งเมืองมหาชัยกองแก้วทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ได้อพยพข้ามแม่น้ำ โขงเข้ามาขอพึ่ง พระบรมโพธิสมภาร ขอสร้างบ้าน แปงเมืองขึ้นใหม่ที่เมืองสกลทวาปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ ราชวงศ์คำเป็น พระยาประเทศธานี(คำในตำแหน่งเจ้าเมืองสกลทวาปี และทรงเปลี่ยน นามเมืองใหม่เป็น สกลนคร ตั้งแต่บัดนั้นมา